รัสเซีย-ยูเครน

รมว.ต่างประเทศรัสเซีย-ยูเครน ร่วมประชุมหาทางออกวิกฤต

เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศรัสเซีย

พร้อมด้วย ดมิโทร คูเลบา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศยูเครน เข้าร่วมการประชุม 3 ฝ่าย ซึ่งจัดขึ้นนอกรอบในระหว่างงานประชุมทางการทูต ที่เมืองอัลทันยา ทางตอนใต้ของตุรกีในวันนี้ (10 มีนาคม) โดยมี เมฟลุต คาวูโซกลู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศตุรกี เป็นตัวกลางในการประชุมเพื่อหาทางออกของสถานการณ์สงครามที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการประชุมของเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดระหว่างรัสเซียและยูเครน นับตั้งแต่ที่กองทัพรัสเซียเปิดฉากบุกยูเครนเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งรัฐบาลตุรกีแสดงความคาดหวังที่จะเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อหาทางออกอย่างสันติ และเป็นจุดเปลี่ยนระหว่างความขัดแย้งที่เกิดขึ้น

ufabet

“เป้าหมายของเราคือนำผู้นำของทั้ง 3 ฝ่ายมารวมกัน” คาวูโซกลูกล่าวต่อสื่อท้องถิ่นก่อนการประชุม ซึ่งคาดว่าอ้างอิงถึงการนำประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ของตุรกี พร้อมด้วยประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย และประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน มาประชุมร่วมกัน

ขณะที่ก่อนการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศยูเครนได้โพสต์คลิปวิดีโอผ่าน Facebook เตือนว่า เขาไม่ตั้งความหวังมากนักต่อการเจรจาในครั้งนี้ แต่จะพยายามและทำให้ดีที่สุด โดยจะเป็นการพูดคุยที่มีการเตรียมการมาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งความสำเร็จของการเจรจาจะขึ้นอยู่กับว่า ลาฟรอฟ ได้รับคำสั่งและคำแนะนำเช่นไรมาจากรัฐบาลเครมลิน พร้อมทั้งเรียกร้องให้ลาฟรอฟพูดคุยกับพวกเขาด้วยความจริงใจและไม่ใช่จากมุมมองโฆษณาชวนเชื่อของรัสเซีย

“ผมจะพูดอย่างตรงไปตรงมาว่า ความคาดหวังของผมเกี่ยวกับการเจรจานั้นต่ำ เราให้ความสนใจในการหยุดยิง การปลดปล่อยดินแดนของเรา และประเด็นที่สาม คือการแก้ไขปัญหาด้านมนุษยธรรมทั้งหมด” คูเลบากล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัสเซียได้ประกาศข้อเสนอเพื่อแลกกับการยุติปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ซึ่งรวมถึงการหยุดยิง และให้รัฐบาลเคียฟวางตัวเป็นกลางด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อละทิ้งความพยายามในการเข้าร่วมกลุ่มพันธมิตรระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ NATO และสหภาพยุโรป และรับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมีย รวมถึงยอมรับว่าแคว้นโดเนตสก์และลูฮันสก์ที่รัสเซียให้การรับรองเอกราชไปนั้นเป็นรัฐอิสระ

สำหรับตุรกีซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือ NATO ยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทั้งรัสเซียและยูเครน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลอังการาพยายามจะรักษาสมดุลความสัมพันธ์กับทั้ง 2 ประเทศ และวางบทบาทของตนในฐานะประเทศที่เป็นกลาง ถึงแม้ว่าในช่วงแรกของการเปิดฉากสงครามยูเครน ตุรกีจะวิจารณ์การกระทำของรัสเซียว่า ‘ผิดกฎหมาย’ และ ‘ไม่เป็นที่ยอมรับ’ แต่ก็ยืนยันว่าจะไม่ยอมละทิ้งความสัมพันธ์กับทั้งรัสเซียและยูเครน


อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : phsacca.com

Releated